สืบสานสังขยา (Kaya) อาหารหวานพื้นเมืองภาคใต้
ประวัติความเป็นมา
สังขยา
หรือที่เรียกในภาษามลายูว่า เซอรีกายาหรือกายา
(มาจากคำว่าร่ำรวยในภาษามลายู) เป็นขนมที่ทำจาก กะทิ ไข่เป็ดหรือไข่ไก่
ซึ่งขยำให้เข้ากันด้วยใบเตย ปรุงรสหวานด้วยน้ำตาล มีจุดกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะใช้เครื่องปรุงที่พบมาในท้องถิ่นคือน้ำตาลมะพร้าวและใบเตย
ปรุงให้สุกด้วยการนึ่ง สุกแล้วแข็ง
นิยมใช้แต่งหน้าข้าวเหนียวแบบข้าวเหนียวสังขยาของไทย
ในมาเลเซียใส่สีกายาเป็นสีเขียวเรียก ปูลุตเซอรีกายา หรือ เซอรีมู สังขยานิยมรับประทานกับข้าวเหนียว
หรือใส่ในฟักทอง เผือกหรือมะพร้าว แล้วนำไปนึ่ง
เป็นคนละชนิดกับสังขยาที่กินกับขนมปัง
ขั้นตอนการทำสังขยาประกอบไปด้วย
อุปกรณ์
1.หม้อหรือกะละมัง
2.ถาดกลม
3.เครื่องปั่น
4.กะชอนกรองน้ำกะทิ
5.หม้อนึ่ง
ส่วนผสมสำหรับทำหน้าสังขยา
1. ไข่เป็ด 10 ฟอง ไข่ไก่ 10
ฟอง
2. น้ำตาลปีบ1 กิโลกรัม
3. หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง
4. ใบเตยมัด 2-3 มัด
5. แป้งข้าวเจ้า 15 กรัม
6.สีผสมอาหาร 1 ห่อ
7.เกลือ 1 ช้อนชา
8.หอมแดง 2-3 หัว
2.วิธีทำหน้าสังขยา
1.ตอกไข่ลงไปในภาชนะ
2.ใส่น้ำตาลบีบ แป้งข้าวเจ้า
ใบเตย หอมแดง เกลือ น้ำกะทิและสีผสมอาหารลงไปรวมกันกับไข่ในภาชนะที่ ตอกไว้
4.จากนั้นกรองด้วยผ้าขาวบาง เพื่อเอาใบเตยและหอมแดงออก
5.เทส่วนผสมที่เหลือลงในถาดกลมที่ได้เตรียมไว้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น