Kata nama คำนาม
KATA NAMA
คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ ที่เป็นรูปธรรม
และนามธรรม
คำนาม สามารถจำแนกได้ 3
ประเภท คือ
1.คำนามเฉพาะ(Kata Nama khas)
2.คำนามทั่วไป(Kata Nama Am)
3.คำสรรพนาม(Kata Ganti Nama)
1. คำนามเฉพาะ(Kata Nama khas)
คำนามเฉพาะ คือ คำนามเฉพาะเป็นคำที่เรียกเฉพาะเจาะจงใช้เรียกชื่อ
บุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ คำนามเฉพาะจะเริ่มต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ สามารถแบ่งได้เป็น
2 ประเภท คือ
1.1
คำนามเฉพาะที่มีชีวิต
( Kata Nama Khas Hidup)
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
คำนามที่เป็นมนุษย์ ( Kata Nama Khas Hidup Manusia) คำที่เจาะจงแก่มนุษย์
( ชื่อคน )
ตัวอย่าง (Contohnya )
Mareenee, Siwaporn, Napisa, Nanee, Hammad.
คำนามที่ไม่ใช่มนุษย์ ( Kata Nama Khas Hidup Bukan Manusia) คำที่เจาะจงแก่สิ่งมีชิวิตที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น ชื่อสัตว์ พืช
มลาอีกะฮ์และอื่นๆ
ตัวอย่าง (Contohnya )
Mikail, Jibrail (มลาอีกะฮ์)
Lembu, Kucing (ชื่อสัตว์)
1.2
คำนามเฉพาะที่ไม่มีชีวิต
( Kata Nama Khas Tak Hidup)
เป็นคำที่เจาะจงแก่สิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ชื่อสิ่งของ หนังสือ ภาษา
สถานที่ สถาบัน ประเทศ กฎหมายและอื่นๆ
ตัวอย่าง (Contohnya )
Tatabahasa Melayu (หนังสือ)
Bahasa Thai (ภาษา)
Songkhla (สถานที่)
Universiti Thaksin (สถาบัน)Malaysia (ประเทศ)
2. คำนามทั่วไป (Kata Nama Am)
คำนามทั่วไป (Kata Nama Am) หมายถึง
คำที่ใช้แทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ โดยทั่วไปที่ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง มี 2 ชนิด
2.1 คำนามทั่วไปที่มีชีวิต (Kata
Nama Am Hidup)
− Manusia (ที่เป็นมนุษย์) :
isteri(ภรรยา)
bayi(ทารก)
guru(ครู)
pelajar(นักเรียน)
polis(ตำรวจ)
−Bukan manusia (สิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์) :
malaikat(มาลาอีกะฮ์/ทูตของพระเจ้า)
hantu(ผี)
kucing(แมว)
harimau(เสือ)
2.2 คำนามทั่วไปที่ไม่มีชีวิต (Kata
Nama Am Tak Hidup)
−Institusi(สถาบัน) :
sekolah(โรงเรียน)
klinik(คลินิก)
hotel(โรงแรม)
balai polis(สถานีตำรวจ)
bank(ธนาคาร)
− Bukan institusi(ที่ไม่ใช่สถาบัน)
= Abstrak(นามธรรม) :
program(โปรแกรม)
angin(ลม)
cuaca(ฤดูกาล)
kedamaian(ความสงบสุข)
= Konkrit(รูปธรรม) :
bilik(ห้อง)
kereta(รถ)
telefon(โทรศัพท์)
3.คำสรรพนาม (Kata Ganti
Nama)
คำสรรพนาม (Kata Ganti Nama) คือ คำที่ใช้แทน
คำนาม เพื่อเลี่ยงการซ้ำคำนาม
3.1 คำสรรพนามบุรุษที่1 (Kata ganti nama diri pertama)
ตัวอย่าง ( Contoh) :
saya, aku, hamba, kami, beta, patik, kita
ตัวอย่างประโยค (Contoh ayat) :
Saya pergi ke sokolah. ฉันไปโรงเรียน
3.2 คำสรรพนามบุรุษที่2 (Kata ganti nama diri kedua)
ตัวอย่าง (Contoh) :
anda, kamu, engkau, awak, tuanku, saudara
ตัวอย่างประโยค (Contoh ayat) :
‘Adakah
ini pensel
awak?’ นี่คือดินสอของคุณใช่มั้ย?
3.3 คำสรรพนามบุรุษที่3 (Kata ganti nama diri ketiga)
ตัวอย่าง
( Contoh) : ia, beliau, dia, mereka, baginda, -nya
ตัวอย่างประโยค
(Contoh ayat) :
Dia pergi sekolah degan adiknya.
เขาไปโรงเรียนกับน้องของเขา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น